• ဝꨰပ္ꨵသꨯꨤꨵတ္မုꨀ္ꨵꨅုမ္းသင္ꨁတꨯးꨟဝ္းꨁဳꨳꨓꨯꨵ ေတꨡꨤꨓ္းဝꨯꨵပꨱꨓ္တြꨓ္ꨳတဳꨲပီꨳꨓြင္ꨵတꨯးꨟဝ္းꨁဝ္ပꨱꨓ္တီꨳပုိင္ꨳ ေတꨡꨤꨓ္းꨟꨱတ္းမူိꨓ္ꨓင္ꨲꨟူင္းꨕုိင္ꨳေသမီးꨓမ္ꨵတြꨓ္းꨕြꨓ္းလီမဳးꨀဳꨳတီꨳꨓ္ꨮးပုတ္ꨵထသဳꨲသꨓဳꨲꨓꨯꨬလꨳ ꨟꨮ္ꨳꨅဝ္ꨳတဳꨲꨓဝꨰပ္ꨵသꨯꨤꨵတ္ꨟဝ္းꨁဳꨳꨓꨯꨵꨬလꨳသင္ ꨅူိဝ္းꨕူꨳꨀူꨓ္းလီꨅြꨓ္ꨳထꨰမ္မူꨅုမ္းꨟဝ္းꨁဳꨳမဳးတဳꨲေသꨓꨓ္ꨵꨬလꨳသင္ ꨅူိဝ္းꨡꨓ္လꨯꨳမဳးꨡꨰဝ္ꨲမဳးပꨓ္ꨟꨰင္းမဳးပꨓ္တꨤင္းꨟꨓ္ထုိင္ꨓꨓ္ꨵꨬလꨳသင္ ꨟꨮ္ꨳလꨯꨳမီးꨅ္ꨮꨟူမ္ꨅူမ္းꨅြမ္းꨟြင္ꨵသဳထုꨟြမ္းꨀꨓ္ေသꨀမ္းꨁဳꨳ ꨷
  • ပပ္ꨵသꨰင္သ်မ္ꨟဝ္းꨁဳꨳꨓꨯꨵꨡိင္ꨓူိဝ္ꨅဝ္ꨳသင္ꨁတꨯးꨟဝ္းꨁဳꨳꨓ္ꨮးမူိင္းထꨯးꨓꨯꨵေသလꨯꨳမီးတꨤင္းꨁတ္းꨅ္ꨮꨟꨮ္ꨳေပဳးပꨱꨓ္ꨕြꨓ္းလီတဳꨲꨓ္ꨮးပုတ္ꨵထသဳꨲသꨓဳꨲꨬလꨳပီꨳꨓြင္ꨵတꨯးꨟဝ္းꨁဝ္ꨓꨯꨁဳꨳꨬလꨳတꨤင္းꨟူꨵတꨤင္းꨟꨓ္ꨀဳꨳတီꨳꨓ္ꨮးꨬꨀꨳမꨤꨀ္ꨳလမ္းꨟူဝ္ꨅ္ꨮꨡꨓ္မီးဝꨯꨵꨅူိဝ္းꨓꨓ္ꨵꨅင္ꨲလꨯꨳꨟꨱတ္းပꨱꨓ္ပပ္ꨵꨕုိꨓ္လိꨀ္ꨳꨡြꨀ္ꨲမဳးယဝ္ꨵꨁဳꨳေꨡဳꨳ ꨷
  • တြꨓ္ꨳတဳꨲပုတ္ꨵထသဳꨲသꨓဳꨲꨓ္ꨮးမူိင္းတꨯးꨟဝ္းေပဳးေတယုိꨓ္းယꨤဝ္းꨁꨤဝ္းꨀꨯ သုိပ္ꨲပꨯလꨯꨳꨀꨮဳꨲထꨰင္ꨳတꨤင္းꨓဳꨳꨓꨓ္ꨵ ꨟူဝ္ပဝ္လူင္သင္ꨁတꨯးꨟဝ္းꨁဝ္ꨓ္ꨮးလꨯꨳပုိတ္ꨲꨕုꨉ္လုမ္းမ္ꨮꨲꨀꨮဳꨲ ꨀဳꨳတီꨳဝꨱင္းပꨤင္လူင္ꨓꨓ္ꨵယဝ္ꨵꨁဳꨳေꨡဳꨳ ꨷.
  • မူိဝ္ꨳဝꨓ္းထိ(8)လူိꨓ္ꨟူꨀ္းမူꨲꨅုမ္းမူꨲလꨓိထိꨕရဳꨵထမ္းသꨰင္ꨟဝ္းꨁဝ္လꨯꨳမဳးလူꨲတꨤꨓ္းငုိꨓ္းꨅြꨯꨳထꨰမ္ꨓ္ꨮးꨅုမ္းသင္ꨁတꨯးꨟဝ္းꨁဳꨳꨀꨮဳꨲꨁဳꨳေꨡဳꨳ ꨷

ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้

๑๖ มกราคมของทุกปีถือเป็น “วันครู”

ผู้เขียนกลับมาย้อนนึกว่า ไม่ได้เอ่ยถึงคำว่า “ครู” มานานเท่าไหร่แล้ว
จำได้ว่าสมัยเรียนประถม เราเรียกผู้สอนทุกคนว่า “ครู” แต่พอเรียนสูงขึ้นในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย จากที่เคยเรียกผู้สอนว่า “ครู” ก็เปลี่ยนเป็นเรียกว่า “อาจารย์”
เอาเข้าจริงแล้ว ครู และ อาจารย์ แตกต่างกันตรงไหน­
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ไว้ว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี สันสกฤต ว่า “คุรุ” ซึ่งหมายถึง หนัก

ส่วนคำว่า “อาจารย์” หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้ หรือคําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง มาจากภาษาบาลี สันสกฤตว่า “อาจริย” ซึ่ง จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ

จากความหมายดังกล่าว การทำหน้าที่แต่เพียงถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ จึงยังไม่เพียงพอที่จะเป็น “ครู” หรือ “อาจารย์” แต่จะต้องประกอบด้วยการทุ่มเทกายใจในการถ่ายทอดความรู้รวมถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านความประพฤติ

โดยนัยยะ จะเป็น “ครู” หรือ “อาจารย์” จึงไม่ใช่ของง่าย ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยกล่าวไว้ว่า คำว่า “ครู” เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เขียนกวีบท “ใครคือครู” ได้อย่างน่าประทับใจ เพราะชี้ให้เห็นว่าค่าของความเป็นครูนั้นอยู่ที่การ “ยกระดับจิตใจ” ให้ศิษย์ มิใช่การสอนให้ศิษย์เป็นเลิศด้านวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว กวีบทนี้เคยใช้ประกอบโฆษณาทางโทรทัศน์ คาดว่าหลายท่านคงผ่านผ่านตามาบ้าง

ใครคือครูครูคือใครในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์ ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน
ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้การงาน
ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์ มีดวงมาลเพื่อมวลชนใช่ตนเอง
ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง สร้างความจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
สร้างคนให้เป็นตัวของตัวเอง ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู

อย่างไรก็ตาม เรามักรู้สึกว่าค่าของ “ครู” ตกต่ำลงเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน ไล่มาตั้งแต่ เป็นสาขาวิชาที่ผู้เรียนมักจะไม่เลือกเป็นอันดับแรกๆ ในการสอบเข้าเรียนต่อ เป็นอาชีพท้ายๆ ที่คนมักจะนึกถึง รวมไปถึงข่าวคราวที่ครูทำร้ายนักเรียนซึ่งปรากฏผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง ก็ทำให้ความศรัทธาที่คนทั่วไปมีต่อวิชาชีพครูลดน้อยถอยลง ทั้งที่ “ครู” เป็นอาชีพที่สำคัญมาก เนื่องจากคนเป็นครูต้องอยู่กับเด็กกับเยาวชนผู้ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ อบรม ขัดเกลา ยกระดับจิตใจให้พวกเขาเหล่านั้นพาตัวเองและสังคมให้อยู่รอดปลอดภัยในกระแสโลกาภิวัตน์

ผู้เขียนเชื่อว่า ในสังคมไทยยังมีครูที่ดีอยู่มาก ไม่เช่นนั้น ประเทศไทยคง “ไปไม่รอด”มานานแล้ว แต่ก็เชื่อว่า ครูที่ไม่ดีก็มีอยู่เช่นกัน เป็นธรรมดาของทุกสังคม ทุกอาชีพ ที่มีทั้งคนดีและคนไม่ดี แต่เราในฐานะ “ศิษย์” ก็สามารถเลือกได้ว่า เราจะจดจำแบบอย่างความประพฤติ และคำสอนจาก “ครู” แบบไหน

๑๖ มกรา วันครู
ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู 

จาก: http://www.teenpath.net/content.asp?ID=11612